ทำได้ทันที! รถไฟฟ้า “แดง & ม่วง” 20 บาท ปีแรกสูญรายได้ 136 ล้านบาท
“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ชี้แจงในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 ก.ย. โดยจะเริ่มกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต 10 สถานี และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 4 สถานี และสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ 16 สถานี ภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนนั้น สามารถทำได้จริง และเริ่มได้ทันที
เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วง ไม่ได้ติดสัญญาสัมปทานกับเอกชน โดยสายสีแดง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เป็นผู้เดินรถ ขณะที่สายสีม่วง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้เดินรถ โดยจ่ายค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าแบบกำหนดราคาคงที่
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะทำให้รายได้รถไฟฟ้าสายสีแดง ขาดรายได้ในปีแรก (ปี 67) ประมาณ 80 ล้านบาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ขาดรายได้ในปีแรก (ปี 67) ประมาณ 56 ล้านบาท คาดว่าประมาณ 2 ปี รายได้จะกลับมาเท่าเดิม จากนั้นในปีถัดไป รายได้จะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากนโยบายจะกระตุ้นการเดินทางให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 10%
ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 2.5 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงอยู่ที่ประมาณ 5.5 หมื่นคนต่อวัน ขณะนี้ รฟท.และ รฟม. เตรียมนำนโยบายเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา ก่อนดำเนินการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วงให้เหลือ 20 บาทตลอดสายต่อไป โดยขณะนี้ค่าโดยสารสายสีแดง และสายสีม่วง อยู่ที่ประมาณ 14-42 บาท
ทั้งนี้ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนั้น ไม่ได้หมายความว่า ผู้โดยสารทุกคนต้องจ่าย 20 บาท หากผู้โดยสารคนใดใช้บริการไม่กี่สถานีและมีค่าโดยสารไม่ถึง 20 บาท จะจ่ายตามจริง เช่น 2 สถานี เคยจ่าย 15-17 บาท ก็จ่าย 15-17 บาทเท่าเดิม ไม่ได้หมายความว่าต้องจ่าย 20 บาท กรณีใช้บริการข้ามสาย ระหว่างสายสีแดง และสายสีม่วงที่สถานีบางซ่อนนั้น จะเก็บ 20 บาทตลอดเส้นทางเช่นกัน เบื้องต้นจะใช้ได้เฉพาะผู้ใช้บัตร EMV Contactless โดยใช้บัตรเครดิตวีซ่า (VISA) หรือมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) รวมถึงบัตรเดบิตเท่านั้น
ส่วนผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสาร หรือเหรียญโดยสารปกติ ไม่สามารถใช้นโยบาย 20 บาทตลอดเส้นทางกรณีข้ามสายได้ ต้องจ่ายค่าเดินทางสายละ 20 บาทตลอดสาย อย่างไรก็ตาม รายละเอียดต่างๆ ของนโยบาย 20 บาทตลอดสาย จะเป็นนโยบายถาวร หรือเป็นนโยบายกี่เดือน กี่ปี ต้องรับฟังนโยบายที่ชัดเจนจาก รมว.คมนาคม อีกครั้ง อย่างไรก็ตามรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วง มีผลดำเนินงานขาดทุนมาโดยตลอด ที่ผ่านมารัฐต้องอุดหนุนรายได้เพิ่มเติมอยู่แล้ว นโยบาย 20 บาทตลอดสาย หากลดค่าโดยสารจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแน่นอน จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรลดปัญหาฝุ่น PM2.5 และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนด้วยคำพูดจาก สล็อตออนไลน์
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ คาดว่าเมื่อ รมว.คมนาคม แถลงนโยบายแล้ว คงจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อเจรจาผู้รับสัมปทาน โดยเฉพาะประเด็นการอุดหนุนจากรัฐที่จะต้องลดลงเมื่อปริมาณผู้โดยสารมากขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ ผู้โดยสารรถไฟฟ้าหลากสีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 7 สาย (สายสีเขียว-น้ำเงิน-แอร์พอร์ตเรลลิงก์-ม่วง-ทอง-แดง-สีเหลือง) มีประมาณ 1.5 ล้านคนต่อวัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมัยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็น รมว.คมนาคม ให้นโยบายรถไฟฟ้าสายสีม่วงลดค่าโดยสารมาแล้ว จากอัตราปกติจ่ายสูงสุด 42 บาท เหลือเริ่มต้นที่ 14 บาท และจ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน และแบ่งเบาภาระจากผลกระทบจากโรคโควิด-19 โดยครั้งนั้น ทำให้ รฟม. มีรายได้ลดลงเช่นกัน ซึ่ง รฟมคำพูดจาก ทดลองใช้ สูตรสล็อต. ได้นำเงินสำรองที่มีเป็นกระแสเงินสดมาช่วยอุดหนุนส่วนต่างรายได้ที่ลดลงเดือนละประมาณ 20 ล้านบาท