ธ.ไทยเครดิต กำหนดราคาไอพีโอ 28.00-29.00 บาท เริ่มขาย 23 ม.ค. คาดเข้า SET ก.พ.
KTB หุ้นดิ่งหนัก 13% เซ่นกำไรต่ำกว่าคาดเยอะ โบรกฯหั่นประมาณการปี 67-68
8 แบงก์ไทยอู้ฟู่ ปี 66 กำไรพุ่ง 2.24 แสนล้านบาท รับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น
ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ CREDIT ประกาศเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 347,029,122 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 5.00 บาท/หุ้น ไม่เกิน 28.2% ของจำนวนหุ้นสามามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้ง และคาดจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในหมวดธุรกิจการเงิน/ธนาคาร ในเดือน ก.พ. 67ซึงนับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เสนอขายหุ้น IPO ในรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ได้กำหนดช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น 28.00 – 29.00 บาท/หุ้น ผ่าน 10 บริษัทหลักทรัพย์และธนาคารชั้นนำ โดยนักลงทุนรายย่อยจะชำระเงินที่ราคา 29.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาเสนอขายสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น และจะได้รับคืนส่วนต่างค่าจองซื้อคืน หากราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่าราคา 29.00 บาทต่อหุ้น
การกำหนดราคาเสนอขายสุดท้ายของหุ้นสามัญที่เสนอขายในครั้งนี้ จะกระทำผ่านการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นวิธีการสอบถามปริมาณความต้องการซื้อหุ้นสามัญของนักลงทุนสถาบันในแต่ละระดับราคา โดยช่วงราคาที่นำมาใช้ทำการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ อยู่ที่ระหว่าง 28.00 – 29.00 บาทต่อหุ้น โดยธนาคารฯ ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ จะพิจารณาร่วมกันในการกำหนดราคาเสนอขายสุดท้าย โดยพิจารณาจากราคาและจำนวนหุ้นที่นักลงทุนสถาบันเสนอความต้องการซื้อเข้ามา
ขณะที่ปัจจุบัน ธนาคารไทยเครดิต มุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อพ่อค้าแม่ค้า และสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี ดยมีสาขารับฝากเงินส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ จำนวน 27 สาขา และสาขาสินเชื่อต้นทุนต่ำทั่วประเทศจำนวน 500 สาขา
โดยผลการดำเนินงานปี 2563-2565 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 ธนาคารฯ มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 6,370.9 ล้านบาท 8,493.6 ล้านบาท 11,052.4 ล้านบาท และ 9,783.8 ล้านบาทตามลำดับ มีกำไรสุทธิ 1,372.9 ล้านบาท 1,935.0 ล้านบาท 2,352.5 ล้านบาท และ 2,816.7 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROE) เท่ากับ 18.0% 20.7% 18.9% และ 21.8% ตามลำดับ
ในปี 2563-2565 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ มีจำนวนเท่ากับ 68,562.4 ล้านบาท 97,728.7 ล้านบาท 121,298.0 ล้านบาท และ 138,435.1 ล้านบาท ตามลำดับ อัตราเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 33.0% ต่อปี (2563-2565) โดยมีปัจจัยหลักจากการเติบโตในทุกกลุ่มสินเชื่อหลักของธนาคารฯ
นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธุรกิจของธนาคารไม่ได้มีความสลับซับซ้อนอะไร โดยเป็นการรับฝากเงินและปล่อยสินเชื่อเท่านั้น โดยจะเน้นกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ส่งให้ในหลายปีที่ผ่านมาที่ผ่านมาธนาคารฯมีอัตราการเติบโตในระดับ 20-30% และยังเป็นโอกาสของโมเดลธุรกิจปัจจุบันได้มาก
“ในอนาคต 3-5ปี เราคงไม่ได้มีการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของเราไปโดยสิ้นเชิง อาจจะมีการเพิ่มบางจุดเข้ามา เพื่อที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือช่วยลดความเสี่ยงบ้าง แต่ว่าธุรกิจหลักของธนาคารยังคงเหมือนเดิม เราจะยังมุ่งเน้นอยู่ที่ตลาดนี้ แล้วก็ถ้าให้คาดการณ์ 3-5 ปีข้างหน้า ด้วยอัตราการเติบโตแบบนี้ ธนาคารจะสามารถขยายได้อีกเท่าตัว”
สำหรับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ มองว่าเป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค เพราะในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา หลายครอบครัวมีรายได้ที่ลดลง แต่ยังมีความจำเป็นในการอุปโภคบริโภคจึงมีการกู้เงินมากขึ้น แต่สินเชื่อของธนาคารไทยเครดิต ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อประกอบธุรกิจ เพราะฉะนั้นจึงเชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่กระทบธนาคารฯ
นางสุวิมล วิศววิกรานต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหน่วยงาน สายงานบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยเครดิต กล่าวว่า ธนาคารฯมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่การการคัดเลือกลูกค้า มีการดูแลและติดตามอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และส่งพนักงานของธนาคารลงพื้นที่ไปเยี่ยมลูกค้าอย่างน้อยทุกสัปดาห์ เพื่อสอบถามประเมินรายได้ของลูกค้า และดูแลศักยภาพในการชำระหนี้คืน หากลูกค้าประสบปัญหากระแสเงินสด ธนาคารก็จะให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างเต็มที่
ธนาคารฯ เตรียมเปิดให้จองซื้อสำหรับนักลงทุนรายย่อย ระหว่างวันที่ 23 – 26 ม.ค.2567 และเตรียมเปิดให้นักลงทุนสถาบันจองซื้อในวันที่ 31 ม.ค.– 2 ก.พ.2567 ผ่านช่องทางบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย 3 ราย คือคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
•บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จํากัด
•บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
•บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
และบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 6 ราย คือ
•บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จํากัด (มหาชน)
•บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
•บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)
•บริษัทหลักทรัพย์ พาย จํากัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จํากัด (มหาชน)
•บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด
และตัวแทนจำหน่ายหุ้น 1 ราย คือ
• ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
โดยนักลงทุนรายย่อยจะชำระเงินที่ราคา 29.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาเสนอขายสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น และจะได้รับคืนส่วนต่างค่าจองซื้อคืน หากราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่าราคา 29.00 บาทต่อหุ้น ภายหลังการเสนอขาย IPO แล้วเสร็จ CREDIT
ผู้สนใจลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนของ ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=527568&lang=thหรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธนาคารฯ ได้ที่เว็บไซต์www.thaicreditbank.com
เปิดเงื่อนไข กาตาร์ พบ จีน ส่งผลต่อทีมไทย ลุ้นเข้ารอบ 16 ทีมเอเชียน คัพ 2023
สรุปอันดับโลกวอลเลย์บอลหญิงไทย ก่อนลุยศึกเนชั่นส์ ลีก 2024
อ.ปริญญา ซัดตำรวจจับแพะลุงเปี๊ยก สะท้อนระบบยุติธรรม